วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กฎการเติม – ing ที่คำกริยา

3.1 ประโยค Present Progressive Tense เชิงบอกเล่า
โครงสร้าง: Subject + is, am, are + Verb 1 ing.
( ประธาน + is, am, are + กริยาช่อง 1 เติม ing.)
ตัวอย่าง 1. Somchai is sleeping. ( สมชายกำลังนอนหลับ )
2. I am playing football. ( ฉัน กำลังเล่น ฟุตบอล )
3. They are watching TV. ( พวกเขากำลังดูโทรทัศน์ )
Go to top

3.2 ประโยค Present Progressive Tense เชิงปฏิเสธ
เมื่อต้องการแต่งประโยค Present Progressive Tense ให้มีความหมาย เชิงปฏิเสธให้นำ not มาเติมหลัง Verb to be ซึ่งมีโครงสร้างดังนี้
โครงสร้าง: Subject + is, am, are + not + Verb 1 ing.
( ประธาน + is, am, are + not + กริยาช่อง 1 เติม ing. )
ตัวอย่าง : 1. Somchai is not ( isn’t ) sleeping. ( สมชายไม่ได้กำลังนอนหลับ )
2. I am not playing football. ( ฉันไม่ได้ กำลังเล่น ฟุตบอล )
3. They are not ( aren’t ) watching TV. ( พวกเขาไม่ได้กำลังดูโทรทัศน์ )
Go to top

3.3 ประโยค Present Progressive Tense เชิงคำถามและการตอบ

เมื่อต้องการแต่งประโยค Present Progressive Tense ให้มีความหมาย เชิงคำถามให้นำ Verb to be มาวางไว้หน้าประโยค
และตอบด้วย Yes หรือ No ซึ่งมีโครงสร้างดังนี้
โครงสร้าง: Is, Am, Are + Subject + Verb 1 ing. ?
( Is, Am, Are +ประธาน + กริยาช่อง 1 เติม ing. ? )
ตัวอย่าง : 1. Is Somchai sleeping ? ( สมชายกำลังนอนหลับใช่หรือไม่ )
-Yes, he is . ( ใช่ เขากำลังนอนหลับ )
-No, he isn’t. ( ไม่เขาไม่ได้กำลังนอนหลับ )
2. Are they studying English ? (พวกเขากำลังเรียนภาษาอังกฤษใช่หรือไม่ )

-Yes, they are. ( ใช่พวกเขากำลังเรียน )
-No, they aren’t . ( ไม่พวกเขาไม่ได้กำลังเรียน )
3. Am I playing football ? ( ฉัน กำลังเล่น ฟุตบอลใช่หรือไม่ )

-Yes, you are. ( ใช่คุณกำลังเล่นฟุตบอล )
-No, you aren’t . ( ไม่คุณไม่ได้กำลังเล่นฟุตบอล )
Go to top

3.4 หลักการใช้ Present Progressive Tense

1. ใช้กับการกระทำที่กำลังเกิดขึ้นในขณะที่พูด เช่น
1. I am studying English . ( ฉันกำลังเรียนภาษาอังกฤษ )
2. Somchai is sleeping. ( สมชายกำลังนอนหลับ )
3. They are watching TV. ( พวกเขากำลังดูโทรทัศน์ )
Go to top

3.5 หลักการเติม ing ท้ายคำกริยา

1. คำกริยาธรรมดา ให้เติม ing ได้เลย เช่น
speak ( พูด ) - speaking
eat (กิน) - eating
2. คำกริยาที่มีพยางค์เดียว มีตัวสะกดตัวเดียว ให้เพิ่มตัวสะกดอีก 1 ตัว แล้วเติม ing เช่น
sit ( นั่ง ) - sitting
run ( วิ่ง ) - running
3. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย e เพียงตัวเดียวให้ตัด e ทิ้งแล้วเติม ing เช่น
come ( มา ) - coming
drive ( ขับรถ ) - driving
4. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย ie ให้เปลี่ยน ie เป็น y แล้วเติม ing เช่น
die ( ตาย ) - dying
lie ( นอน ) - lying
                 แบบฝึกหัด

1.  Suda and Lawan............reading cartoons.

          A  does not
          B  is not
          C  are not
          D  am not
2.  
I .............sleeping now.

          A  am not
          B  does not
          C  is not
          D  are not

3.  She............tennis.


          A  is play
          B  is playing
          C  are playing
          D  play

4.  I …………English.


          A  am study
          B  am studying
          C  study
          D  is studying

5.  She ........playing tennis.


          A  is not
          B  does not
          C  am not
          D  are not

6.  Is she writing a letter ?


          A  No, she are.
          B  Yes, she are.
          C  Yes, she is.
          D  No, she is.

7.  Are they playing computer games ?


          A  Yes, they aren't.
          B  Yes, you are.
          C  No, they aren't.
          D  No, they are.

8.  They................homework.


          A  is doing
          B  are doing
          C  are do
          D  do
9.  
โครงสร้างของ Present Progressive Tense ในรูปประโยคบอกเล่าคือ

          A  S + is , am , are + V1 ing
          B  S + V1
          C  S + is ,am , are + V1
          D  S + v2

10.  

........you...........to Bangkok ?

          A  Is , go
          B  Are , go
          C  Is , going
          D  Are , going

Past Simple Tense

Past Simple Tense ใช้แสดงถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตและได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยมีโครงสร้างประโยคดังนี้


Subject + verb ช่องที่ 2

หลักการใช้ Past Simple Tense
1. ใช้แสดงถึงการกระทำหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและสิ้นสุดลงแล้ว โดยจะระบุเวลาไว้อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น
- Mark arrived at 7 o'clock yesterday.
- Joe bought a new car last week.
- The train stopped five minutes ago.
- They studied French last term.

2. ใช้แสดงถึงการกระทำที่เป็นนิสัยหรือเกิดขึ้นเป็นประจำในอดีต แต่ไม่ได้เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน มักมี adverbs of frequency ที่แสดงความบ่อยรวมอยู่ในประโยคเช่น always, usually, often, every........เป็นต้น และต้องมีคำบอกเวลาในอดีตแสดงไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น
- It often rained last week.
- He always played tennis last year.
- Jim drank coffee every two hours last night.
- They swam every evening last year.

3. ใน Past Simple Tense สามารถใช้ used to +คำกริยาช่องที่ 1 (เคย) แสดงถึงการกระทำที่กระทำอยู่ หรือที่เป็นอยู่เป็นประจำในอดีต ตัวอย่างเช่น
- Sam used to travel to Japan on business.
- She used to work here.
- They used to live in Chiang Mai.

หลักการเปลียนคำกริยาให้เป็น Past Tense
การเปลี่ยนรูปคำกริยาเป็น past tense มี 2 วิธี คือ
1, การเติม ed ที่ท้ายคำกริยาช่องที่ 1 (Regular Verb)
2. คำกริยาที่เปลี่ยนรูปใหม่ ( Irregular Verb)

หลักการเติมเติม ed ที่ท้ายคำกริยามีดังนี้
1.คำกริยาโดยทั่วไปเมื่อเปลี่ยนเป็นคำกริยาช่องที่ 2 ให้เติม ed ได้เลย เช่น
clean - cleaned
help - helped
watch - watched
2. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย e อยู่แล้ว ให้เติม d ได้ทันทีเช่น
like - liked
bake - baked
live - lived
3. คำกริยาที่เป็นพยางค์เดียว มีสระตัวเดียว ตัวสะกดตัวเดียว ให้เพิ่มตัวสะกดตัวท้ายอีกหนึ่งตัวก่อน แล้วจึงเติม ed เช่น
stop - stopped
fit - fitted
plan - planned
4. คำกริยาที่มี 2 พยางค์ ออกเสียงเน้นหนักพยางค์หลังให้เพิ่มตัวสะกดตัวท้ายอีกหนึ่งตัวก่อน แล้วจึงเติม ed
prefer - preferred
control - controlled
5. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย yและหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วจึงเติม ed เช่น
study - studied
cry - cried
carry - carried
แต่ถ้าหน้า y เป็นสระให้เติม ed ได้เลย เช่น
play played
stay - stayed
การทำเป็นประโยคคำถาม
1. ให้สังเกตว่าในประโยคมีกริยาช่วยหรือไม่ ถ้ามีให้นำกริยาช่วยมาวางไว้หน้าประโยคและใส่ เครื่องหมาย ?(question mark)ดังนี้
- He was in the bathroom five minutes ago.
Was he in the bathroom five minutes ago?
Yes, he was./No,he wasn't.
2. ถ้าในประโยคนั้นไม่มีกริยาช่วย ให้ใช้ did มาช่วย ( ประธานทุกตัวใช้ did) โดยนำ did มาวางไว้หน้าประโยค ตามด้วยประธานและกริยาต้องอยู่ในรูปเดิม( ช่องที่ 1) ท้ายประโยคใส่เครื่องหมาย?(question mark)
Cathy lived with her parents.
Did Cathy live with her parents?
Yes, she did. / No, she didn't.
การทำให้เป๋นประโยคปฏิเสธ
1. ถ้าในประโยคมีกริยาช่วยให้ใส่ not หลังกริยาช่วยนั้น เช่น
I was tired.
I was not tired หรือ I wasn't tired.
2. ถ้าไม่มีกริยาช่วยให้ใช้ did มาช่วย (ประธานทุกตัวใช้ did) แล้วใส่ not หลัง did และกริยาช่องที 2 ต้องเปลี่ยนเป็นกริยาช่องที่ 1
Ben danced yesterday.
Ben did not(didn't) dance yesterday.
Angela saw the denteist last week.
Angela did not (didn't) see the dentist last week.

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วิธีเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง เก่งภาษาอังกฤษ

วิธีเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง เก่งภาษาอังกฤษ


วิธีเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง วิธีเก่งภาษาอังกฤษ นั้นเป็นอีดเรื่องนึงที่หลายๆ คนอยากรู้มากๆ สงสัยกันบ้างมั้ยว่า แอ๊ะทำไมเพื่อเราคนนี้ มันเก่งภาษาอังกฤษจัง มันก็คนไทเหมือนเรา โอ้ย อิจฉา วันนี้ทาง Eazy.com เลยขอนำเสนอบทความวิธีเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง เอาหละถ้าพร้อมที่จะเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง ก็ลุยกันเลย

การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เราจะต้องมี Passion หรือ ความรู้สึกที่ดีกับสิ่งนี้ หากคุณไม่ทราบว่าอะไรคือ Passion หรือ ความรู้สึกที่ดี คืออะไร ลองย้อนกลับไปมองสิ่งต่างๆ ที่คุณเคยอยากได้ อยากมีสิครับ ยกตัวอย่างเช่น คุณอยากได้เสื้อผ้าดีๆ สวยๆ กระเป๋ายี่ห้อดังๆ หรือ แม้แต่ตอนที่คุณจีบแฟนคุณ เหล่านี้เกิดขึ้นเพราะคุณมี Passion ซึ่งทำให้คุณทุ่มเทพละกำลัง ความตั้งใจ ความพยายามให้ได้มันมา เพราะรู้ว่า มันมีค่ากับคุณแน่นอน ภาษาอังกฤษก็เช่นเดียวกัน สิ่งแรกที่คุณต้องมีคือ Passion หรือ ความรู้สึกที่ดีต่อภาษาอังกฤษ ซึ่งเราต้องคิดต่อว่า แล้วเราจำเป็นต้องรู้ หรือ มีภาษาอังกฤษไว้ทำไม คำตอบคิอ ต้องมีครับ (Must have) เพราะในปัจจุบันนี้ทุกอย่างในชีวิตประจำวันเราคือ ภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนและการ ทำงาน อันจะนำมาซึ่งความก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน

ในปัจจุบันนี้ การรู้ภาษาอังกฤษไม่ใช่เป็นเรื่องของความสามารถพิเศษแล้ว ลองจินตนาการการสอบสัมภาษณ์เข้าทำงานของบริษัท เมื่อคุณตอบคำถามว่า คุณทราบภาษาอังกฤษ ผู้ที่สัมภาษณ์คุณไม่ได้มองว่าคุณมีความสามารถที่โดดเด่นไปจากคนอื่นเลย บางบริษัทที่มีชื่อเสียง ยังบังคับให้คุณไปสอบภาษาอังกฤษกับการสอบที่มาตรฐาน เช่น TOEIC, TOELF, IELS ตลอดจน CU-TEP, TU-GET แล้วนำคะแนนสอบที่ผ่านตามเกณฑ์มาร่วมพิจารณากับคุณสมบัติอื่นๆ ส่วนการสอบเข้าเรียนในระดับต่างๆ แทบไม่ต้องกล่าวถึง ต้องใช้คะแนนภาษาอังกฤษมาเป็นเกณฑ์ หรือ แทบจะเป็นตัววัดตัวสุดท้ายในการตัดสินในการเข้าศึกษา

ยิ่งกล่าวไปทำ ให้เครียด จนมีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อภาษาอังกฤษ เราลองย้อนกลับมาพิจารณา แล้วจะทำอย่างไรให้เก่งภาษาอังกฤษ ผมคิดว่าคงไม่มีกฎเกณฑ์ใดตายตัว หากแต่จะเป็นเรื่องของการแนะนำส่วนตัว แต่ท้ายที่สุดต้องขึ้นกับผู้ที่ศึกษาเองว่ามี Passion แล้วทุ่มเทกับภาษาอังกฤษ แค่ไหน ดังนั้นผมขอแนะนำวิธีการเรียนรู้ที่สามารถนำเอาไปใช้ นะครับ

หากแยกประเภทการเรียนภาษาอังกฤษ ผมขอแบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลัก คือ

1. ไวยากรณ์ (Grammar)
2. ศัพท์ (Vocabulary)
3. การอ่าน (Reading)
4. การเขียน (Writing)
5. การฟัง (Listening)
6. การพูด (Speaking)

1. ไวยากรณ์ (Grammar)
ไวยากรณ์ หรือ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Grammar ถือว่าเป็นไม้เบื่อไม้เมากับคนไทยเรามาเป็นเวลาหลายสิบปี การเรียนรู้ภาษาอังกฤษขึ้นต้นของผู้เรียน ก็เริ่มจากการเรียนไวยากรณ์ ซึ่งใช้เวลาเกือบสิบปี เรียนกันตั้งแต่เด็กไปถึงผู้ใหญ่ ก็ยังไม่จบ เลยทำให้มีคำถามตามมาว่า ทำไมต้องเรียน เรียนแล้วก็ยังพูดภาษาอังกฤษไม่ได้

จริง แล้วการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะทำให้ทราบถึงรูปแบบของภาษาในการเรียงถ้อยร้อยคำที่ถูกต้อง เพื่อนำไปใช้ในการสื่อสารให้เข้าใจระหว่างกัน การเรียนไวยากรณ์ต้องใช้ความอดทนในการทำความเข้าใจและจดจำ กฎ และข้อยกเว้นต่างๆ (ซึ่งข้อยกเว้นต่างๆ มักจะนำไปออกข้อสอบ) อีกทั้งต้องคอยสังเกตรูปแบบ

การเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ แทบจะไม่มีอะไรมาก นอกเสียจากลองไปหาหนังสือไวยากรณ์ดีๆ สักเล่ม ลองเลือกเล่มที่ไม่ต้องหนามาก เอาขนาดกลางๆ ก็พอ แล้วค่อยๆ ศึกษา ทบทวน กอปรนึกถึงตอนเคยได้รับการเรียนรู้มาแล้ว จากนั้นทำแบบฝึกหัด หากคุณไม่สามารถบังคับตัวคุณให้ทำอย่างนี้ได้ ลองเดินไปเรียนพิเศษ หรือติวหลักไวยากรณ์ เพื่อจะได้เรียนรู้หลักการจำ การทำความเข้าใจภาษาอังกฤษ ซึ่งอาจจะทำให้คุณเข้าใจไวยกรณ์ภาษาอังกฤษได้ง่ายขึ้น แต่เมื่อเรียนจบแล้ว คุณต้องกลับมาทบทวน ทำความเข้าใจเรื่อยๆ นะครับ มิฉะนั้นแล้ว ทุกอย่างจะกลับไปคืนผู้สอนหมด ทำให้คุณเสียเงินและยังเสียเวลา แล้วไม่ได้อะไรอีก

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบการคิด (Cognitive Style) และ รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style)

ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางความคิดของมนุษย์ที่สำคัญนั้น นอกจากความเชื่อ และทัศนคติแล้ว ปัจจุบันนี้ในบริบทของ การจัดการศึกษา นักจิตวิทยา นักการศึกษา และนักวิจัยกำลังให้ความสนใจ และให้ความสำคัญมากขึ้นทุกที ต่อสิ่งที่เรียกว่า รูปแบบการคิด (cognitive style) และ รูปแบบการเรียนรู้ (learning style) ในฐานะที่เป็นปัจจัยทางจิตวิทยาสำคัญ ที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ และเพิ่มสัมฤทธิผลทางการเรียนของผู้เรียนได้ ทั้งในการจัดการศึกษาในระดับโรงเรียน ระดับอุดมศึกษา และในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาวิชาชีพขององค์กรต่างๆ
ความหมายของคำว่า "รูปแบบ (style)"
คำว่า "รูปแบบ (style)" ในทางจิตวิทยา หมายถึงลักษณะที่บุคคลมีอยู่หรือเป็นอยู่ หรือใช้ในตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม อย่างค่อนข้าง คงที่ ดังที่เรามักจะใช้ทับศัพท์ว่า "สไตล์" เช่น สไตล์การพูด สไตล์การทำงาน และสไตล์การแต่งตัว เป็นต้น ซึ่งก็หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของเราเป็นอยู่ หรือเราทำอยู่เป็นประจำ หรือค่อนข้างประจำ
ความหมายของ รูปแบบการคิด(Cognitive style) และ รูปแบบการเรียนรู้(learning style)
รูปแบบการคิด (cognitive style) หมายถึง หนทางหรือวิธีการที่บุคคลชอบใช้ในการรับรู้ เก็บรวบรวม ประมวล ทำความเข้าใจ จดจำข่าวสารข้อมูลที่ได้รับ และใช้ในการแก้ปัญหา โดยรูปแบบการคิดของแต่ละบุคคลมีลักษณะค่อนข้างคงที่
รูปแบบการเรียนรู้ (Learning style) หมายถึง ลักษณะทางกายภาพ ความคิด และความรู้สึก ที่บุคคลใช้ในการรับรู้ ตอบสนอง และมีปฎิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางการเรียนอย่างค่อนข้างคงที่ (Keefe, 1979 อ้างใน Hong & Suh, 1995)
ดังนั้นรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้ จึงเป็นลักษณะของการคิด และลักษณะของการเรียนที่บุคคลหนึ่งๆ ใช้หรือทำเป็นประจำ อย่างไรก็ตามรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้ไม่ได้หมายถึง ตัวความสามารถโดยตรง แต่เป็นวิธีการที่บุคคล ใช้ความสามารถ ของตนที่มีอยู่ในการคิด และการเรียนรู้ ด้วยลักษณะใดลักษณะหนึ่ง มากกว่าอีกลักษณะหนึ่งหรือลักษณะอื่นๆที่ตนมีอยู่
ความเกี่ยวข้องระหว่างรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้
แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการคิด (Cognitive Style) พัฒนามาจากความสนใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งในช่วงแรก ของการ ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการคิดนักจิตวิทยาได้เน้นศึกษาเฉพาะความแตกต่างระหว่างบุคคล ในแง่ของ การประมวลข่าวสารข้อมูล ยังไม่ได้ประยุกต์เข้ามาสู่การเรียนการสอนในชั้นเรียน ต่อมานักจิตวิทยากลุ่มที่สนใจ การพัฒนาประสิทธิภาพ ของการเรียน การสอนในชั้นเรียน ได้นำแนวคิดของรูปแบบการคิดมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์โดยเน้นสู่ บริบทของการเรียนรู้ในชั้นเรียน และพัฒนาเป็นแนวคิดใหม่ เรียกว่า รูปแบบการเรียนรู้ (learning style)
Riding และ Rayner (1998) กล่าวว่า รูปแบบการเรียนรู้ ประกอบด้วยรูปแบบการคิด (cognitive style) และกลยุทธ์การเรียนรู้ (learning strategy) ซึ่งหมายถึงวิธีการที่ผู้เรียนใช้การจัดการหรือตอบสนองในการทำกิจกรรมการเรียน เพื่อให้เหมาะสม กับสถานการณ์ และงานในขณะนั้นๆ
ความสำคัญของรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้ได้เป็นไปอย่างกว้างขวาง และต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 20 ปี ผลการวิจัยได้ชี้ชัดว่า รูปแบบการคิด และ รูปแบบการเรียนรู้ ของผู้เรียนมีผลต่อความสำเร็จทางการเรียน โดยผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของผู้เรียน จะเพิ่มขึ้น และผู้เรียนจะสามารถจดจำข้อมูลที่ได้เรียนนานขึ้น เมื่อวิธีสอน วัสดุ/สื่อการสอน และ สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ มีความสอดคล้องกับรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน (Davis, 1991; Jonassen & Grabowski, 1993; Caldwell & Ginthier ,1996 ; Dunn, et al.,1995 ) เช่น ผู้เรียนที่มีรูปแบบการคิดเป็นรูปภาพ จะเรียนรู้ได้ดี เมื่อผู้สอนใช้สื่อการสอนที่มีภาพประกอบ หรือผู้เรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบอิสระ จะเรียนรู้ได้ดี ในกิจกรรม การเรียนที่มีการค้นคว้าด้วยตนเอง หรือผู้เรียนที่มีรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ก็จะเรียนรู้ได้ดีในกิจกรรมการเรียนที่มีส่วนร่วม มีการร่วมมือกันทำงานเป็นกลุ่ม เป็นต้น
นอกจากนี้การวิจัยยังพบประเด็นที่น่าสนใจอีกว่า นักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน จากผลการเรียน ไม่ถึงเกณฑ์จำนวนมาก มีรูปแบบการเรียนรู้ที่ไม่สอดคล้องกับรูปแบบการสอน ที่ครูส่วนใหญ่ใช้สอนกัน (Caldwell & Gintheir, 1996; Rayner & Riding,1996) อีกทั้งยังพบว่านักเรียนที่มีปัญหาการเรียนส่วนใหญ่ มีรูปแบบการเรียนรู้ ที่แตกต่างไปจาก นักเรียนผู้สนใจเรียน และเรียนดี (Shaughnessy, 1998) จึงอาจเป็นไปได้ว่า ปัญหาการเรียนของนักเรียนเหล่านี้ มีสาเหตุมาจากการที่มีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกับนักเรียนทั่วไป และไม่สอดคล้องกับรูปแบบการสอนทั่วไปของครู
จึงกล่าวได้ว่าความรู้ความเข้าใจในเรื่องรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้ มีความสำคัญ ต่อการส่งเสริม ประสิทธิภาพ ของ การเรียนการสอน และพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ และอาจช่วยลดปัญหาผลการเรียนต่ำ ปัญหาการหนีเรียน และไม่สนใจเรียนของผู้เรียนได้ด้วย